ข้อความวิ่งส่วนหัว

education-social-development

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ความรู้เกี่ยวกับน้ำตาล (Sugar)


ความรู้เกี่ยวกับน้ำตาล (Sugar)


น้ำตาลคือ สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวานโดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย น้ำตาลในประเทศไทยผลิตได้จากพืชหลายชนิด ตั้งแต่อ้อย ตาลโตนด มะพร้าว รากหญ้าคาและลูกจาก จนถึงน้ำผึ้งจากรวงผึ้ง ในระดับอุตสาหกรรมจะผลิตน้ำตาลจากอ้อยและหัวผักกาดหวานหรือหัวบีท (Beet roots) เป็นหลัก สำหรับประเทศไทยผลิตน้ำตาลเป็นอันดับสามของโลก รองจากอินเดียและบราซิล
น้ำตาลสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะโมเลกุลได้ 3 ประเภท คือ

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561

คาร์โบไฮเดรต







คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรต ประเภทของคาร์โบไฮเดรต


  1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ( monosaccharide ) น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวมี C 3 – 7 อะตอม สูตรโมเลกุล C6H12O6

      1.1น้ำตาลกลูโคสหรือเดกซ์โครส ( Glucose or Dextrose )

  • พบมากในองุ่น จึงมักเรียกน้ำตาลองุ่น
  • เป็นสารอาหารหลักในการสลายให้พลังงานแก่สิ่งมีชีวิต
  • สลายเป็นพลังงานได้รวดเร็วจึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานรีบด่วน เช่น นักกีฬา และดุดซึม ได้ง่ายจึงเหมาะต่อผู้เจ็บป่วยและผักฟื้น
  • เป็นน้ำตาลที่มีมากที่สุดในธรรมชาติ
  • เป็นองค์ประกอบของมอลโทส ซูโครส และแลกโทส
                1.2 น้ำตาลกาแลกโทศ ( Galactose )

  • ไม่ค่อยพบเป็นน้ำตาลอิสระเดี่ยวๆ แต่เป็นองค์ประกอบของน้ำตาลแลกโทสและวุ้น ( agar )
  • มีสูตรโครงสร้างคล้ายน้ำตาลกลูโคสมากที่สุด
               1.3 น้ำตาลฟรังโทส ( Fructose )

  • พบมากในน้ำผึ้ง โดยในน้ำผึ้งมีน้ำตาลฟรังโทสเป็นองค์ประกอบถึง 40 % และพบมากในผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น มะม่วงสุก
  • เป็นน้ำตาลที่หวานที่สุดมักผสมในลูกกวาด

เป็นตัวให้พลังงานแก่อสุจิ
2.โอลิโกแซคคาไรต์ ( Oligosaccharide ) ประกอบขึ้นจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 – 10 โมเลกุล สูตรโมเลกุล C12H22O11




2.1 น้ำตาลโมเลกุลคู่ (disaccharide)เป็นน้ำตาลที่เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุลมารวมตัวกันทางเคมี
ตัวอย่างของน้ำตาลโมเลกุลคู่ ได้แก่
            น้ำตาลมอลโทส ( maltose = C12 H22O11 )                         เกิดจากน้ำตาลกลูโคส 2 โมเลกุล รวมกัน
                         พบในข้าวมอลท์และได้จากการย่อยแป้ง
             น้ำตาลซูโครส ( Sucrose = C12H22O11 )                         เกิดจากน้ำตาลกลูโคสกับฟรักโทสรวมกัน
                         พบมากในน้ำอ้อยและหัวบีทจึงใช้ผลิตน้ำตาลทราย
              น้ำตาลแลกโทส (Lactose = C12H22O11)
                           เกิดจากน้ำตาลกลูโคสกับน้ำตาลกาแลกโทสรวมกัน
                           พบมากในน้ำนม ปัสสาวะหญิงมีครรภ์
               น้ำตาลเซลโลไบโอส (Cellobiose = C12H22O11)
                           ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส 2 โมเลกุล
                          ได้จากการย่อยเซลลูโลสโดยจูลินทรีย์โดยใช้เอนไซม์เซลลูเลส ( cellulase ) แต่การย่อยไม่สมบูรณ์




C6H12O+ C6H12OÔ C12H22O11 + H2O
กลูโคส + กลูโคส Ô มอลโทส + น้ำ ( หรือ เซลโลไบโอส )
กลูโคส + ฟรังโทส Ô ซูโครส + น้ำ
กลูโคส + กาแลกโทส Ô แลกโทส + น้ำ
2.2 ไตรแซคคาไรต์ ( Trisaccharide )ประกอบขึ้นจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 3 โมเลกุล เช่น น้ำตาลแรฟฟิโนส ( raffinose )ซึ่งประกอบขึ้นจากกลูโคส , กาแลกโทส และ
ฟรังโทส อย่างละ 1 โมเลกุล
3.คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ ( Polysaccharide )



เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบขึ้นจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวมากกว่า 10 โมเลกุลขึ้นไปจนถึงหลาย ๆ ร้อยโมเลกุลรวมตัวกันด้วยพันธะไกล
โคซิดิก กลายเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ ( Polymer ) ซึ่งคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่เป็นคาร์โบไฮเดรตที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ
สูตรโมเลกุล (C6H10O5n ( n = จำนวนโมเลกุลของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว )
ประเภทของคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่จำแนกตามหน้าที่เป็น 2 ประเภท คือ
3.1 โพลีแซคคาไรต์สะสม ( Storage Polysaccharide )




เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ แป้ง ( starch ) และอินูลิน ( inulin ) สำหรับในพืช และ
ไกลโคเจน ( glycogen ) สำหรับในสัตว์
แป้ง และไกลโคเจน ( ไกลโคเจน เป็นแป้งสะสมมากในตับ สามารถเปลี่ยนเป็นกลูโคสยามขาดแคลน )

  • ต่างมีกลูโคสเป็นองค์ประกอบ
  • ขนาดโมเลกุล ไกลโคเจน > แป้ง
  • การแตกกิ่งก้านของโมเลกุล ไกลโคเจน > แป้ง




อินูลิน
  • ประกอบขึ้นจากน้ำตาลฟรักโตส พบในพลับพลึงและรากเหง้า
 3.2โพลีแซคคาไรต์โครงสร้าง ( Structural Ploysaccharide )เป็นโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต เช่น เซลลูโลส ( Cellulose ) วุ้น ( agar ) และไคติน ( Chitin ) เซลลูโลส ( Cellulose )

  • ประกอบขึ้นจากกลูโคส 300 – 15,000 โมเลกุล
  • ขนาดโมเลกุลใหญ่กว่าแป้ง แต่เล็กกว่าไกลโคเจน
  • เป็นสารอินทรีย์ที่มีปริมาณมากที่สุดในธรรมชาติ
  • โครงสร้างโมเลกุลไม่แตกกิ่งก้านสาขา
  • ความสำคัญ เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์
วุ้น ( agar )
  • สกัดได้จากผนังเซลล์ของสาหร่ายสีแดง
  • ใช้เพาะเลี้ยงจูลินทรีย์
ไคติน ( Chitin )เป็นองค์ประกอบของโครงร่างแข็งภายนอก ของแมลงหรือ เช่น กุ้ง ปู นอกจากนี้ยังพบในผนังเซลล์ของเห็ด รา ยีสต์

ที่มา : http://www.school.net.th/library/snet5/topic8/carbo.html
ที่มา : https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/science/10000-10596.html

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

หลักไวยากรณ์อังกฤษ

      

ความรู้ กับ อนาคต

แผนที่ตั้ง

 Part of speech คือ อะไร มีกี่ประเภท และมีหน้าที่ทำอะไรในหลักแกรมม่า : สรุป part of speech    ให้เห็ นภาพก่อนคร่าวๆนะครับว่า มันส่วนของคำพูด หมายความว่าคําในภาษาอังกฤษที่เราสื่อออกไปนั้น ประกอบไปด้วยชนิดของคำ หรือประเภทของคําต่างๆนั่นเอง